โรงเรียน : ทัพทันอนุสรณ์
แหล่งเรียนรู้ : ฟาร์มควายกำนันโป๊ด
ชื่อแหล่งเรียนรู้
ฟาร์มควายกำนันโป๊ด
หน่วยการเรียนรู้
ควายงามอุทัยธานี
จังหวัดอุทัยธานี เป็นอำเภอที่เลื่องชื่อในเรื่องของการค้าขายกระบือหรือควาย ทั้งควายที่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเนื้อ หรือควายที่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรหลายท่านที่อนุรักษณ์สายพันธุ์ควายที่มีลักษณะดี โครงสร้างใหญ่ ลักษณะเขาสวยงาม หรือที่เรียกว่าควายเหล่า ในจังหวัดอุทัยธานีมีฟาร์มควายสวยงามที่มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องหลายฟาร์ม ซึ่งฟาร์มควายที่ใกล้กับโรงเรียนทัพทันอนุสรณ์และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มีการอนุรักษณ์สายพันธุ์ควายเหล่าที่มีความสวยงามจำนวนหลายตัว และมีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องคือ “ฟาร์มควายกำนันโป๊ด” ซึ่งเป็นของ กำนันโป๊ด อดีตกำนันตำบลทัพทัน ฟาร์มควายแห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ที่ต้องการเข้ามาชม และศึกษาลักษณะของควายในฟาร์มแห่งนี้ ทางโรงเรียนทัพทันอนุสรณ์จึงเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษณ์ควายไทยสายพันธุ์ควายเหล่าอุทัยธานี จึงได้นำ “ฟาร์มควายกำนันโป๊ด” มาเป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในครั้งนี้
บูรณาการรายวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วิชาวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ท างานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และน าความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด ม.1/1. สังเกต และอธิบายรูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หลายเซลล์
วิชาคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 : จำนวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 : เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
ตัวชี้วัด ม. 1/3 เข้าใจ และประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และ ร้อยละในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ และปัญหาในชีวิตจริง
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ตัวชี้วัด ส 3.1 ม.1/3 อธิบายความเป็นมา หลักการและความสำคัญของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อสังคมไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยี (ออกแบบและเทคโนโลยี)
มาตรฐาน ว.4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และศาสตร์ อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบ ต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด ว 4.1 ม.2/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการในชุมชนหรือท้องถิ่น สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม
วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ว 4.1 ม.2/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
ว 4.1 ม.2/4 ทดสอบ ประเมินผล และอธิบายปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบเงื่อนไข
วิชาศิลปะ
ส สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ศ 1.1 2/3.วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลาย ในการสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ
ศ 1.1 2/7.บรรยายวิธีการใช้งานทัศนศิลป์ในการโฆษณาเพื่อโน้มน้าวใจและนำเสนอตัวอย่างประกอบ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
วิชาการงานอาชีพ
สาระที่ 2 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจมีทักษะที่จะเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอาชีพมีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด
ง 2.1 ม.3/1 อภิปรายการหางานด้วยวิธีที่หลากหลาย
ง 2.1 ม.3/2 วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ
ง 2.3 ม.3/3 ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัดและ
ความสนใจของตนเอง
วิชาภาษาอังกฤษ
สาระที่3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหา ความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตน
ตัวชี้วัดที่ ม.3/1 ค้นคว้า รวบรวม และสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการ พูด/การเขียน
วิชาภาษาไทย
สาระที่ 2 : การเขียน มาตรฐาน
มาตรฐาน ท 2.1 : ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้น คว้า อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ ม.3/9. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและ โครงงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ระดับชั้น
แผนการจัดการเรียนรู้
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้
ทดสอบ