โรงเรียน : การุ้งวิทยาคม

แหล่งเรียนรู้ : คูเมืองโบราณ บ้านเมืองการุ้ง

 ชื่อแหล่งเรียนรู้

คูเมืองโบราณ บ้านเมืองการุ้ง

 หน่วยการเรียนรู้

เมืองโบราณ บ้านเมืองการุ้งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 4 ตำบลเมืองการุ้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นเมืองโบราณที่มีผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมมุมมน มีคูน้ำกว้าง 20 เมตร คันดินสูง 5 เมตร  จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ที่ระดับความลึกประมาณ 30-120 เซนติเมตร พบว่าภายในเมืองโบราณเป็นที่อยู่อาศัย และประกอบกิจกรรมของมนุษย์  โบราณวัตถุที่พบเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เศษอิฐแตกหัก เบี้ยดินเผารูปวงกลมใช้เป็นของเล่น ตะคันดินเผาขนาดเล็กใช้ใส่น้ำมันจุดไฟให้แสงสว่าง ลูกกระสุนดินเผาใช้ล่าสัตว์ขนาดเล็ก ตะปู หัวธนู มีดเล็กทำด้วยเหล็ก ตะกรันจากกิจกรรมถลุงเหล็ก ดินถูกไฟเผาที่แสดงถึงการใช้ความร้อนบนพื้นดิน ขวานขัดแบบมีบ่า แท่นหินบดยา หินลับมีด หินทรายมีร่องรอยการขัดฝน เครื่องประดับตุ้มหู ตะกั่ว ลูกปัดแก้ว และกระดูกสัตว์หลายชนิด เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 คูเมืองโบราณ บ้านเมืองการุ้ง จึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนการุ้งวิทยาคม ที่ปัจจุบันมีเพียงร่องรอยหลักฐานในเชิงภูมิศาสตร์ ที่ตั้งหลงเหลืออยู่บ้างโรงเรียนการุ้งวิทยาคมจึงจัดทำหลักสูตรบูรณาการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นให้นักเรียนได้เข้าศึกษาในสถานที่จริงผ่านการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาในรายวิชาประวัติศาสตร์ แล้วนำมาสรุกองค์ความรู้เขียนแผนผังความคิดในรายวิชาภาษาไทย พร้อมสื่อสารนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีน เรียนรู้ศิลปะการแสดงในสมัยทวารวดีผ่านรายวิชานาฏศิลป์ และศึกษาลักษณะรูปร่างพื้นที่ รูปทรงโบราณสถาน โบราณวัตถุผ่านรายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ส่งผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

 บูรณาการรายวิชา

 

                ภาษาต่างประเทศ

                 มาตรฐาน

     มาตรฐาน ต.1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

      ตัวชี้วัด

      ม. 1/2 อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ และบทร้อยกรองสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน

      ม. 1/3 ระบุ/เขียนประโยค และข้อความ ให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียง รูปแบบ ต่างๆ ที่อ่าน

     ภาษาไทย

     มาตรฐาน

        ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

                ตัวชี้วัด

                     ม.2/2 จับใจความสำคัญ สรุปความ และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน

                     ม.2/3 เขียนผังความคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ ที่อ่าน

                สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

                     ส4.1 ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ

                     ส4.1 ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

               ศิลปะ (นาฏศิลป์)

              มาตรฐาน 

                     ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                     ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า

ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

              ตัวชี้วัด

         ม.2/3การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม  

                    ม.2/4 เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง     

                    ม.2/2 ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้านหรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมในอดีต

 

 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย  
ภาษาต่างประเทศ  
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  
ศิลปศึกษา  

 ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2  

 แผนการจัดการเรียนรู้

 ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

  คลิปกิจกรรมการเรียนรู้

 ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้

  นักเรียนเกิดความรู้  ทักษะ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ผ่านเกณฑ์  ตรมแผนการจัดการเรียนรู้ 

 

 ตำแหน่งพิกัด