โรงเรียน : ห้วยกรดวิทยา

แหล่งเรียนรู้ : การแสดงระบำตาล และรำมะนา

 ชื่อแหล่งเรียนรู้

การแสดงระบำตาล และรำมะนา

 หน่วยการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ รำรำมะนา

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

          การศึกษาค้นคว้า และเขียนบรรยายเกี่ยวกับการแสดงรำรำมะนาจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  สามารถร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงรำรำมะนา  ออกแบบท่ารำโดยใช้นาฏยศัพท์และภาษาท่ารวมทั้งสามารถเขียนคำศัพท์กำกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง  การดูแลรักษา และสามารถแสดงรำรำมะนาซึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

หน่วยการเรียนรู้ ระบำตาล

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

          การศึกษาค้นคว้า และเขียนบรรยายเกี่ยวกับวิธีและขั้นตอนการทำน้ำตาลโตนดจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น นำมาออกแบบสร้างสรรค์ท่ารำโดยใช้นาฏยศัพท์และภาษาท่า ฝึกนับจังหวะให้ตรงตามเพลงระบำตาล สามารถปฏิบัติท่ารำระบำตาลได้ถูกต้องตามแบบแผน รู้จักเครื่องดนตรี การแต่งกาย รวมทั้งการดูแลรักษาและแนวทางอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

 บูรณาการรายวิชา

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

          ๑. การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยที่เหมาะสม

          ๒. แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม

สาระการเรียนรู้ศิลปะ

          ๑. การร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องบทเพลงพื้นบ้าน

          ๒. นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแสดง

                   -ภาษาท่าและการตีบท

                   -ภาษาท่าหรือภาษาทางนาฏศิลป์

                   -ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ

                   -ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์

          ๓. ศิลปะแผนกอื่นๆกับการแสดง  เครื่องแต่งกาย  อุปกรณ์

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

          ๑. ขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพเป็นการปฏิบัติตามกระบวนการทำงานโดยการทำตามลำดับขั้น

มีความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การซัก ตาก พับ เก็บ เสื้อผ้าที่ต้องดูแลอย่างประณีต

          ๒. วิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นการทำงานที่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น

การเลือกใช้ดูแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

          ๑. การค้นคว้า การรวบรวม การสรุปและการนำเสนอข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

สาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา

          ๑. การเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์

สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

          ๑. นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นของตน

          ๒. การสืบทอดรำรำมะนาและระบำตาล

 

 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย  
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  
ศิลปศึกษา  

 ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1  
มัธยมศึกษาปีที่ 2  
มัธยมศึกษาปีที่ 3  
มัธยมศึกษาปีที่ 4  
มัธยมศึกษาปีที่ 5  
มัธยมศึกษาปีที่ 6  

 แผนการจัดการเรียนรู้

 ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

  คลิปกิจกรรมการเรียนรู้

 ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้กิจกรรมการแสดงรำรำมะนาและระบำตาล ดังนี้:

  1. ความรู้ (Knowledge)

    • นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการแสดงรำมะนาและระบำตาล ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนห้วยกรด
    • เข้าใจความหมายของท่ารำ จังหวะดนตรี และบทเพลงที่ใช้ในการแสดง รวมถึงการเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตท้องถิ่นห้วยกรด
  2. ทักษะ (Skills)

    • นักเรียนฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี การควบคุมสมดุลร่างกาย และการประสานงานระหว่างการเคลื่อนไหวและดนตรี
    • พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในกลุ่ม ทั้งการซ้อมและการแสดงจริง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการสื่อสารที่ดี
    • เสริมสร้างทักษะการแสดงออกผ่านการรำ โดยเฉพาะการแสดงอารมณ์และความรู้สึกผ่านท่าทางและการเคลื่อนไหว
  3. เจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values)

    • นักเรียนมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการแสดงท้องถิ่นและเห็นคุณค่าของการสืบสานศิลปะพื้นบ้านห้วยกรด
    • มีทัศนคติเชิงบวกต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นห้วยกรดให้ยังคงอยู่ต่อไป 
    • เกิดความสนุกสนานและความประทับใจในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพื้นบ้าน
  4. การเชื่อมโยงกับชุมชนและวัฒนธรรม (Community and Cultural Engagement)

    • นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และสืบสานการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนห้วยกรด ซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน
    • เข้าใจบทบาทของรำมะนาและระบำตาลในบริบทของงานประเพณีและเทศกาลท้องถิ่น
  5. การพัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills Development)

    • นักเรียนได้ฝึกฝนความอดทน ความมีวินัย และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
    • พัฒนาทักษะการสื่อสารและการแสดงออก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้

 ตำแหน่งพิกัด