โรงเรียน : ห้วยกรดวิทยา
แหล่งเรียนรู้ : การทำน้ำตาลโตนดห้วยกรด
ชื่อแหล่งเรียนรู้
การทำน้ำตาลโตนดห้วยกรด
หน่วยการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่องเล่าตาลโตนด ( 8 แผน 10 ชั่วโมง)
สาระสำคัญ การเรียนรู้ประวัติ ความรู้เบื้องต้น ประโยชน์ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการทำของการทำน้ำตาลโตนดของชาวห้วยกรดที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่อดีตกาล เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงการอนุรักษ์พันธุ์ตาลโตนดสู่คนรุ่นหลังให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของต้นตาลโตนดและการทำน้ำตาลโตนดให้คงอยู่สืบไป
นอกจากนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ วิธีการตั้งแต่การเก็บน้ำหวานจากช่อดอกตาล การเคี่ยวน้ำตาลโตนด ลักษณะเตาในการเคี่ยวน้ำตาลโตนด และวิธีการทำน้ำตาลโตนด โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการขึ้นตาลที่ปลอดภัย และวิธีปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย ออกแบบพื้นที่ในการทำน้ำตาลโตนด การคำนวณอัตราส่วนน้ำตาลที่ใช้ต่อการผลิตน้ำตาลปึก การเขียนและการนำเสนอวิธีการทำน้ำตาลโตนด และคำศัพท์ต่างๆ
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ที่ 2 การแปรรูปน้ำตาลโตนด ( 3 แผน 6 ชั่วโมง)
สาระสำคัญ ศึกษาเรียนรู้ ความเป็นมา ลักษณะ คุณประโยชน์ ของต้นตาลโตนด การออกแบบผลิตภัณฑ์จากต้นตาลโตนด การแปรรูปน้ำตาลโตนด น้ำตาลสดพาสเจอร์ไรท์ น้ำเชื่อมไซรับ น้ำตาลโตนด การออกแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาด วิธีการผลิต เช่น การบรรจุหีบห่อ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานทำน้ำตาลสดพาสเจอร์ไรท์ น้ำเชื่อมไซรับ น้ำตาลโตนด การเคี่ยวน้ำตาล สำรวจผลิตภัณฑ์และแหล่งวัสดุท้องถิ่น และหรือวัสดุสังเคราะห์ ออกแบบการทำผลิตภัณฑ์จากต้นตาล ให้เหมาะสมกับวัสดุท้องถิ่น เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ผลิตชิ้นงานด้วยวิธีต่าง ๆ ตกแต่งขั้นสำเร็จ ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย กำหนดราคา และจัดจำหน่าย
บูรณาการรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด ท 3.1 ม.2/1 พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลำกหลายของกำรแสดงจำนวน ระบบจำนวน กำรดำเนินกำรของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
ตัวชี้วัด ม.1/3 เข้าใจและประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการแก้ปญหาคณิตศาสตร์และปญหาในชีวิตจริง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า
และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษา
ต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา
ประเพณีและวัฒนธรรมไทยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด ส 2.1 ม.3/3 อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เหมาะสม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ม.3/9. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เทคนิคทีหลากหลาย
มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า
งานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
ตัวชี้วัด ศ 1.2 ม.3/1 ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด ม.2/1 ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง
ตัวชี้วัด พ 5.1 ม.1/1 แสดงวิธีปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
สาระประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.3 ม.4-6 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
ตัวชี้วัด มาตรฐาน ส 4.3 ม.4-6/5วางแผนกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด ม.1/1 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ระดับชั้น
แผนการจัดการเรียนรู้
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ดังนี้:
-
ความรู้ (Knowledge)
-
นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำน้ำตาลโตนด ตั้งแต่การเก็บน้ำตาลจากต้น การเคี่ยว จนถึงการผลิตน้ำตาลโตนดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ
-
เข้าใจประวัติความเป็นมาของการทำน้ำตาลโตนดในชุมชนห้วยกรด ซึ่งมีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
-
-
ทักษะ (Skills)
-
นักเรียนพัฒนาทักษะการทำงานด้วยมือ เรียนรู้การทำงานในแต่ละขั้นตอน เช่น การเก็บน้ำตาล การกรอง และการเคี่ยว
-
เสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมและการประสานงานผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและชุมชน
-
-
เจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values)
-
นักเรียนมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำน้ำตาลโตนด
-
มีความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
-
-
การเชื่อมโยงกับชุมชน (Community Engagement)
-
นักเรียนได้เรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำน้ำตาลโตนด
-
เข้าใจถึงบทบาทของน้ำตาลโตนดในเศรษฐกิจชุมชนและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
-
-
การพัฒนาอาชีพ (Vocational Development)
-
นักเรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำตาลโตนด ซึ่งอาจนำไปสู่การสนใจอาชีพที่เกี่ยวข้องในอนาคต
-