โรงเรียน : สาครพิทยาคม
แหล่งเรียนรู้ : เมืองอู่ตะเภา
ชื่อแหล่งเรียนรู้
เมืองอู่ตะเภา
หน่วยการเรียนรู้
อู่ตะเภา เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี
เมืองโบราณอู่ตะเภา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมืองโบราณแห่งนี้เป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการมากว่า 50 ปี โดยการสำรวจของ นายมานิตย์ วัลลิโภดม แห่งกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2506 เมืองโบราณอู่ตะเภา มีอายุสมัยอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พื้นที่โดยรอบเมืองเป็นที่ราบลุ่ม จึงเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาแต่โบราณ สภาพเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบนั้นอาจเพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณของเมือง หรือเพื่อเป็นการป้องกันศัตรูจากภายนอกหรือเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมเมือง หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ก็เป็นได้ ภายในเมืองโบราณอู่ตะเภา ค้นพบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดี และพบโบราณวัตถุเก่าไปจนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แสดงให้เห็นว่าก่อนจะมีพัฒนาการมาเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีนั้น มีการใช้งานพื้นที่บริเวณนี้มาก่อนหน้านั้นแล้วคือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
บูรณาการรายวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รายวิชาสังคมศึกษา
มาตรฐานการเรียนรู้
- ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการ ทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นระบบ
ตัวชี้วัด
- ม.๔-๖/๑ ตระหนักถึงความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง ของมนุษยชาติ
- ส ๔.๑ ๔-๖/๒ สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
- รายวิชาภาษาไทย
- มาตรฐานการเรียนรู้
- มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตัวชี้วัด
- ท ๒.๑ ม.๔-๖/๔ ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ
- ท ๒.๑ ม.๔-๖/๕ ประเมินงานเขียนของผู้อื่น แล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
- ท ๒.๑ ม.๔-๖/๘ มีมารยาทในการเขียน
- ท ๒.๑ ม.๔-๖/๑ เขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษา เรียบเรียงถูกต้องมีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
รายวิชาภาษาอังกฤษ
มาตรฐานการเรียนรู้
- มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
- มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ตัวชี้วัด
- ต 1.1 ม.4-6/2 อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง และบทละครสั้น (skit) ถูกต้อง ตามหลักการอ่าน
- ต 2.2 ม.4-6/1 อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน คำพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
- ต 1.2 ม.4-6/4 พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่านอย่างเหมาะสม
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ระดับชั้น
แผนการจัดการเรียนรู้
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้
นักเรียนได้เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ โดยสามารถนำหลักการวิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองโบราณอู่ตะเภาได้อย่างเป็นระบบและยังสามารถนำมาบูรณาการกับเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ และรายงานการศึกษาค้นคว้าทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ