โรงเรียน : บุญนาคพิทยาคม

แหล่งเรียนรู้ : ลูกปัดสร้างสรรค์

 ชื่อแหล่งเรียนรู้

ลูกปัดสร้างสรรค์

 หน่วยการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้เสริมสร้างทักษะอาชีพ  “ ลูกปัดสร้างสรรค์ ”

ชื่อหน่วยการเรียนรู้  ลูกปัดสร้างสรรค์  ( 8  แผน  20  ชั่วโมง )

สาระสำคัญ                                                                                                        

         ลูกปัดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานโดยคนก่อนประวัติศาสตร์ใช้วัสดุใกล้ตัว เช่น เปลือกหอย  กระดูกสัตว์ หิน  ไม้ เมล็ดพืชหรือโลหะประเภทต่าง ๆมาเจาะรู แล้วร้อยเป็นสร้อยคอ  สร้อยข้อมือ ร้อยติดเส้นผม เสื้อผ้า ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และนิยมสวมสร้อยข้อมือลูกปัดให้กับคนตายถือว่าเป็นของมีค่าก่อนนำไปฝัง  จึงมีการขุดค้นพบลูกปัดโบราณที่มีคุณค่าในแหล่งต่าง ๆทั่วโลก  ถือว่าลูกปัดเป็นส่งที่แสดงถึงวัฒนธรรม  อารยธรรมของมนุษย์  จัดเป็นหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากการค้นพบในปัจจุบัน

         ในปัจจุบันลูกปัดเปลี่ยนรูปแบบวิธีการใช้งาน วัสดุที่นำมาผลิตลูกปัดมีสีสันที่สวยงามทันสมัย หลากหลายรูปแบบ  เราสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆมากมายให้เหมาะสมกับการใช้งาน  เช่น  สร้อยคอ สร้อยข้อมือ  สายคล้องโทรศัพท์ สายคล้องแมส  พวงกุญแจ  กระเป๋า  ประดับเสื้อผ้า  ทำของใช้ตามความต้องการของคนในปัจจุบัน   สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  และสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

                                                                 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ชื่อหน่วยการเรียนรู้   เทคโนโลยีกับการออกแบบงานลูกปัดสร้างสรรค์

(3 แผนการเรียนรู้ 6 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ

         การใช้ระบบเทคโนโลยีมาสืบค้น แหล่งที่มา  วัสดุ  ความสำคัญของลูกปัด แนวคิดในการออกแบบ แก้ปัญหาเกี่ยวกับงานลูกปัดสร้างสรรค์  ออกแบบแบรนด์สินค้า  ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ การสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด  การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโดยอาจใช้เทคนิคหรือวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยให้เข้าใจเงื่อนไขและกรอบของปัญหาได้ชัดเจน การดําเนินการสืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปสู่การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา   มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จําเป็น โดยคํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญาเงื่อนไขและทรัพยากร เช่น งบประมาณ เวลาข้อมูลสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมจนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เป็นผลสำเร็จ 

หน่วยการเรียนรู้ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้   ทุกปัญหามีทางแก้เสมอเพื่องานลูกปัดสร้างสรรค์ (การร้อยลูกปัดแบบต่างๆ)

(4 แผนการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ

         การนำลูกปัดมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลากหลายรูปแบบ  มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน  สังคม  และสามารถสร้างรายได้กับผู้จัดทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกปัด เช่น  สายคล้องโทรศัพท์  กระเป๋า  พวงกุญแจ  สายคล้องแมส  สายคล้องแว่นตา  สร้อยคอ สร้อยข้อมือ   เข็มขัด เคสยาดม  กล่องใส่กระดาษทิชชู่  กล่องใส่ของต่าง ๆ  การทำชุดมโนราห์  ชุดราตรี  ที่คาดผม ฯลฯ  ซึ่งเกิดจากการเลือกใช้ลูกปัด วัสดุอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคมยุคปัจจุบัน  การสร้างสรรค์ชิ้นงานมักเกิดปัญหาเสมอ  แต่เราก็มีวิธีการที่หลาหลายในการแก้ปัญหานั้น ๆ จนนำมาซึ่งการสร้างรายได้  สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประกอบเป็นอาชีพที่มั่นคง  หรือเป็นรายได้เสริมจากงานประจำได้  โดยมีช่องทางการขายที่หลากหลายทั้งในตลาดทั่วไปในชุมชน   และตลาดออนไลน์ในแอพพลิเคชั่นมากมายที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ติ๊กต๊อก  เฟสบุ๊ค   ฯลฯ

หน่วยการเรียนรู้ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้   บุกการตลาดทุกช่องทาง

(1 แผนการเรียนรู้ 4 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ

         การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากลูกปัดทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สวยงามทันสมัย  น่าใช้งาน  เช่น  สายคล้องโทรศัพท์  กระเป๋า  พวงกุญแจ  สายคล้องแมส  สายคล้องแว่นตา  สร้อยคอ สร้อยข้อมือ   เข็มขัด เคสยาดม  กล่องใส่กระดาษทิชชู่  กล่องใส่ของต่าง ๆ  การทำชุดมโนราห์  ชุดราตรี  ที่คาดผม ฯลฯ  ซึ่งเกิดจากการเลือกใช้ลูกปัด วัสดุอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคมยุคปัจจุบัน จนนำมาซึ่งการสร้างรายได้  เป็นสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  ต่อยอดสู่การประกอบเป็นอาชีพที่มั่นคง  หรือเป็นรายได้เสริมจากงานประจำได้  โดยมีช่องทางการขายที่หลากหลายทั้งในตลาดทั่วไปในชุมชน   และตลาดออนไลน์ในแอพพลิเคชั่นมากมายที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ติ๊กต๊อก  เฟสบุ๊ค   ฯลฯ ต้องใช้ทักษะกระบวนการที่หลายหลายและเป็นการฝึกคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากการลงมือปฏิบัติจริง  ทำงานร่วมกัน ช่วยกันคิดแก้ปัญหา  หาช่องทางการจัดจำหน่าย  และยังมีการบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ อีกด้วย

 บูรณาการรายวิชา

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            - การใช้ระบบเทคโนโลยี ในการสืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโดยอาจใช้เทคนิคหรือวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลาย การตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จําเป็นเพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม          

            - ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

            - เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี  ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้     หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

            - ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

            - ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ  ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

            - เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา  

            - ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล    การสื่อสาร 

            - การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ   และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

            - เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา

            - สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ  ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

            - เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

            - มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

            - ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

            - การจัดการทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้   มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน   มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม   เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

            - เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

            - เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย   มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

 กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

 ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4  

 แผนการจัดการเรียนรู้

 ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

  คลิปกิจกรรมการเรียนรู้

 ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้

ผลที่ได้จากการเรียนรู้

ความรู้ (Know ledge )

  • เรียนรู้เกี่ยวกับ
  • เข้าใจวิธีการ

ทักษะ (Skills )

ทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิต Foundational Literacy

  • การใช้ภาษา (Literacy) ทักษะการอ่าน เขียน และความเข้าใจในการใช้ภาษา 
  • การคำนวณ (Numeracy) ทักษะการคิดคำนวณ เข้าใจสัญลักษณ์และเข้าใจความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์
  • การใช้เทคโนโลยี (ICT Literacy) ทักษะการใช้งานเทคโนโลยี 
  • การใช้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ทักษะการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
  • การเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคม (Cultural & Civic Literacy) ทักษะการเข้าใจและเห็นคุณค่าในด้านวัฒนธรรมและสังคม
  • การจัดการการเงิน (Financial Literacy) ทักษะการใช้ความรู้ทางด้านการเงิน

ทักษะที่ใช้ในการจัดการปัญหา Competencies

  • การวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียด (Critical Thinking) ทักษะการคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
  • การคิดวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะการคิดไอเดียใหม่ ๆ
  • การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา (Communication) ทักษะการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การเขียน รวมถึงท่าทางที่แสดงออก
  • การร่วมแก้ปัญหากับผู้อื่น (Collaboration) ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น

ทักษะที่ใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง Character Qualities

  • ความสงสัยใครรู้ (Curiosity) ทักษะในการตั้งคำถามและหาคำตอบ
  • ความริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) ทักษะการเริ่มทำสิ่งใหม่
  • ความพยายามในการบรรลุเป้าหมาย (Persistence) ทักษะความอดทน ไม่ย่อท้อ
  • ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ทักษะการปรับตัวในทุกสถานการณ์
  • ความเป็นผู้นำ (Leadership) ทักษะความเป็นผู้นำและมีความสามารถในการจัดการ
  • ความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness) ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์และมีความตระหนักในด้านสังคมและวัฒนธรรม

เจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values )

  • เห็นคุณค่าและความสำคัญในการสืบทอดการร้อยลูกปัดและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • มีความตระหนักในการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
  • มีเจคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกัน การประกอบอาชีพอิสระ

การพัฒนาชุมชน

            การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น   เห็นคุณค่าและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเอง  ครอบครัว  และชุมชน ลดการเกิดปัญหาสังคม  ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุขทั้งปวง

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

2.  ซื่อสัตย์สุจริต

3.  มีวินัย

4. ใฝ่เรียนรู้

5. อยู่อย่างพอเพียง

6.  มุ่งมั่นในการทำงาน

7.  รักความเป็นไทย

8.  มีจิตสาธารณะ

 ตำแหน่งพิกัด