โรงเรียน : ห้วยกรดวิทยา
แหล่งเรียนรู้ : การอนุรักษ์ตาลโตนด
ชื่อแหล่งเรียนรู้
การอนุรักษ์ตาลโตนด
หน่วยการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เรียนรู้ตาลโตนด ( 4 แผน 8 ชั่วโมง)
สาระสำคัญ ต้นตาลโตนดเป็นพืชในตระกูลปาล์ม มีการสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา ต่อได้มีการกระจายพันธุ์มาทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และแพร่มาสู่แถบประเทศเอเชียอาคเนย์ รวมถึงประเทศไทยที่น่าจะเริ่มการปลูกครั้งแรกบริเวณแถบจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะเมืองท่าที่มีการค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยนั้น อัตราส่วนของดิน ที่เหมาะสมต่อการเพาะเมล็ดตาลโตนด
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ การเพาะตาลโตนด ( 4 แผน 8 ชั่วโมง)
สาระสำคัญ สามารถนําความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่ม จำนวนพืช เช่น การใช้เมล็ดที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมาเพาะเลี้ยงวิธีการนี้จะได้พืชในปริมาณมาก ผลและเมล็ดมีการกระจายออกจากต้นเดิม โดยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเมล็ดไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะเกิดการงอกของเมล็ด
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( 3 แผน 4 ชั่วโมง)
สาระสำคัญ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
บูรณาการรายวิชา
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
1. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- อัตราส่วน สัดส่วนของดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ดตาล
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ความหลากหลายชนิดพันธุ์ของตาล
- ส่วนประกอบของต้นตาลโตนด
สาระการเรียนรู้ศิลปะ
1. ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อมโดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1. การฟังและอ่านสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
1. ประวัติความเป็นมาของต้นตาลโตนด
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ระดับชั้น
แผนการจัดการเรียนรู้
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ กิจกรรมการอนุรักษ์ตาลโตนด นักเรียนได้เรียนรู้...
-
ความรู้ (Knowledge)
- นักเรียนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นตาลโตนดทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในชุมชน
- เข้าใจวิธีการดูแลรักษาและการปลูกต้นตาลโตนดอย่างถูกต้อง
-
ทักษะ (Skills)
- ลงมือปฏิบัติในการการเพาะเมล็ดตาลโตนด การดูแลรักษาตาลโตนด
- ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกันและการสื่อสารผ่านการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
-
เจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values)
- เห็นคุณค่าความสำคัญในการอนุรักษ์ตาลโตนดเพื่อความยั่งยืน
- มีความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
-
การพัฒนาชุมชน (Community Development)
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน